สวัสดีค่ะ วันนี้จะมานำเสนอข่าวที่หลายคนกำลังให้ความสนใจอยู่นั่นคือ ข่าว “ดีเดย์ 21 ก.พ. 60 รัฐบาลให้กู้เงินใช้หนี้นอกระบบ กู้ได้คนละ 5 หมื่นบาท” ซึ่งในเนื้อหาข่าวที่กำลังเป็นกระแสนี้ เรียกได้ว่ามีหลาย ๆ คนกำลังให้ความสนใจว่า จะกู้ดีไหม?
ซึ่งหากดูตามรายละเอียดของเนื้อหาข่าวตาที่ช่อง 3 ได้นำเสนอวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 ที่รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติโครงการสินเชื่อรายย่อยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยหวังแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย ซึ่งผู้ที่สนใจและเข้าข่ายสามารถขอกู้ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
” ทั้งนี้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรสามารถกู้ได้ที่ ธนาคารออมสิน และสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โดยจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 5 หมื่นบาท ระยะเวลาชำระหนี้ไม่เกิน 5 ปี ดอกเบี้ย 0.85% ต่อเดือน หรือ 10% ต่อปี ต้องมีบุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากรายได้และค่าใช้จ่ายรวมของบุคคลในครอบครัวเป็นหลัก ซึ่งจะสามารถตรวจสอบประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโรได้ แต่จะไม่นำมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อ”
…เอาล่ะคะ หากมาลองพิจารณาดูแล้ว ดอกเบี้ย 0.85% ต่อเดือนหรือ 10% ต่อปีนี่ก็เรียกได้ว่า ดูน่าสนใจมากเลยนะคะ สำหรับหลาย ๆ คนที่ได้ติดตามข่าว ก็มีแนวโน้มออกมาว่า “ฉันตกลงจะกู้เพื่อมาลงทุนหรือใช้หนี้อะไรสักอย่างกับโครงการนี้ล่ะ”
…แต่ทว่า… ลืมอะไรไปหรือเปล่าคะ ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการกู้ “ที่ควรคำนึงอยู่เสมอทุกครั้ง” ก็คือ
- ความจำเป็นในการใช้เงิน
- ความคุ้มค่า รวมถึงราคาดอกเบี้ย
- ความยากง่ายในการเข้าถึงบริการ
ซึ่งเหตุผลที่ยก 3 ข้อด้านบนมาให้คิดกันก่อนก็เพราะว่า ตามที่เคยเจอมา จากหลาย ๆ คนที่มีปัญหาเรื่องหนี้ ส่วนใหญ่ก็มักจะมาจาก การใช้่เงินเกินตัวจนเกิดหนี้ หรือการกู้มาเพื่อซื้อของตอบโจทย์กิเลส แต่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตค่ะ ยกตัวอย่างเช่น มือถือมีไว้สื่อสาร หากช่วงที่มีเงินน้อย ก็ควรซือแต่พอโทรได้ หรือหากเป็น smart phone ก็ควรเอารุ่นที่เหมาะกับการใช้งานแบบธรรมดา ๆ ใช้งานได้ไปก่อน แต่หลาย ๆ คน ที่มีปัญหาเรื่อง หนี้ ส่วนใหญ่มักจะ กู้เงินมาเพื่อซื้อ โทรศัพท์ราคาแพง หรือใช้เพื่อกิจกรรมบางอย่างที่ตอบสนองกิเลสตัวเองแต่ไม่ตอบโจทย์ชีวิตค่ะ
ซึ่งหากให้มาเปรียบเทียบระหว่างกู้ในระบบ และนอกระบบนั้น หากถามตัวส้มเองว่าอันไหนดีกว่า และแนะนำอันไหน ส่วนตัวก็ขอแนะนำให้ ลอง ๆ คุยหลาย ๆ ที่ก่อนค่ะ อย่าใช้ความคิดว่า “เราต้องไปง้อกู้เขา” แต่ลองคิดเสียว่า “ใคร ๆ ก็อยากให้เรากู้” เพราะเราเป็นคนมีวินัยทางการเงินที่ดี และกู้มาเพื่อลงทุนค่ะ ซึ่งหากคุณคิดด้วยความคิดนี้แล้ว บางที คนที่คุณไปกู้จากที่เขาเป็นเจ้าหนี้เงินกู้คุณ บางทีแล้วเขาก็อาจจะกลายมาเป็น ผู้ร่วมลงทุนกับคุณอีกด้วยค่ะ
ส่วนสุดท้ายนี้สรุปสั้น ๆ อีกครั้งสำหรับคนอยากอ่านสั้น ๆ นะคะ คือส่วนตัวส้มมีความเห็นว่า ไม่ว่าจะกู้นอกระบบ หรือกู้ในระบบ ถ้าพูดในเรื่องความคุ้มค่า ก็ลองพิจารณาดูดี ๆ เพราะหลาย ๆ ที่เขาก็มีการบริการที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงเรื่องดอกเบี้ย บางทีกู้นอกระบบ อาจจะมีบางเจ้าให้ราคาดีกว่า บริการดีกว่า ก็เป็นได้ค่ะ ด้วยเหตุนี้ ส้มจึงอยากแนะนำว่า ลองเปรียบเทียบหลาย ๆ ที่ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ต้องมั่นใจนะคะ ว่าการกู้ครั้งหนี้คือการกู้มาลงทุน” เพราะการกู้มาลงทุน ยังไงคุณก็มีแต่ได้กับได้ แต่หากกู้มาซื้อของ ของมีแล้วก็เสียตามการเวลา และที่สำคัญก็คือ “อย่าตามกระแส” หรือเชื่อกระแส “ที่ว่าดี” จนมากเกินไป ให้วางแผนการกู้แต่ละครั้งอย่างมีจุดหมายชัดเจน เพียงเท่าหนี้ส้มก็มั่นใจว่า ไม่ว่าจะกู้กับโครงการของารัฐฯ หรือเอกชน คุณก็จะสามารถ สร้างเครดิตดี ไม่มีหนี้เสียแน่นอนค่ะ