สวัสดีค่ะวันนี้กลับมาพบกับบทความดี ๆ จากทาง somrichstory กันอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับประเด็นที่วันนี้จะหยิบยกมาพูดถึงกันก็คือเรื่องของดิจิตอลแบ้งก์กิ้ง ที่กำลังมาแรง จนคนน้ำตาซึมกันทีเดียวค่ะ…
เนื่องจากคำว่าแรงในที่นี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของตัวมันเองอยู่ แต่ก่อนที่จะเข้าไปสู่เหตุผลว่าทำไม? เรามาดูสถิติ และทำความรู้จักกับคำว่า Digital Banking กันดีกว่าค่ะ
ข้อมูลแรก : ในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมาในเดือนมีนาคมทางธนาคารทหารไทย ก็ได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทยมาว่า ณ ขณะนั้นมีผู้ใช้งาน Internet Banking ( โอนเงินทางอินเทอร์เน็ต ) เป็นจำนวนสูงถึง 12,892,097 คน และอีกส่วนหนึ่งก็ยังใช้ บริการ โอนเงินด้วย มือถือ Mobile Banking 11,573,828 คน
ข้อมูลชุดสอง : จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยให้เห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ของธุรกิจประเภท e-commerce ว่าปัจจุบันมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
https://www.etda.or.th/content/value-of-e-commerce-survey-2016.html
ซึ่งข้อมูล ทั้ง 2 ชุดที่ยกมามีความเกี่ยวเนื่องกันก็คือ ผู้ที่ใช้บริการส่วนใหญ่นั้น เลือกใช้ Digital banking ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าได้ลองหาตามเอกสารวิจัยต่าง ๆ ก็จะมีสถิติบ่งชี้ให้เห็นชัดว่า เมื่อ e-commerce เติบโต โลกของ Digital banking ก็มักจะเติบโตไปด้วย เหตุผลหลัก ๆ ก็คงหนีไม่พ้น เพราะว่า internet แพร่หลายขึ้น แถม smart phone ก็ยังราคาถูก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ยิ่งเป็นส่วนกระตุ้นให้ ผู้คนสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างง่ายดายโดย ไม่ต้องไปต่อแถวรอที่ธนาคาร
“ลองคิดดูสิว่า….แค่มีมือถือ1 เครื่องก็เปรียบเสมือน มีบัตรเคตรดิต ที่พร้อมจะจ่ายได้ทุกสกุลเงินทั่วโลก”
ซึ่งสำหรับคำว่า Digital Banking นั้น ความหมายที่อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ นั่นก็คือ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้านการเงินผ่าน ระบบออนไลน์ ของสถาบันการเงินต่าง ๆ หรือถ้าพูดง่าย ๆ กว่านั้นก็คือ “การโอนเงินผ่านเน็ต” “การซื้อ-ขายของผ่านเน็ต” นั่นเอง โดยเฉพาะปัจจุบัน ผู้ให้บริการมือถือหลาย ๆ จ้าวก็มีบริการเสริมต่าง ๆ ที่สามารถประยุกนำค่าโทรมาซื้อ-ขายของผ่านเน็ตด้วยแล้ว จึงเป็นอีกผลนึงที่ทำให้ การค้าขายทางโลก Digital หรืออินเทอร์เน็ตนั้นเต็บโตด้วยความรวดเร็ว
ดีจิตอลแบงก์กิ้ง มีด้านดี ก็ต้องมีด้านลบ?
ด้วยความที่สามารถจับจ่าย โอนเงินได้คล่องตัว ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นช่องทางนึงที่เปิดโอกาสให้มิชฉาชีพ คอยฉกฉวยด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปล่อย application ปลอม ให้กรอก user- password สำหรับโอนเงิน ที่ทำหน้าจอเลียนแบบโปรแกรมของทางธนาคาร ( ในเรื่องนี้ ส้มแนะนำว่า เวลาโหลดแอพฯ ดีที่สุดคือ ต้องโหลดจากทาง appstore หรือ play store เท่านั้น ) หรือปลอมแปลงเว็บไซท์เลียนแบบ ซึ่งข่าวเหล่านี้ก็มีออกมาอย่างต่อเนื้อง ด้วยเหตุนี้ ก่อนใช้งานทุกหน้าเว็บไซท์หรือ เข้าแอพฯ ผู้ใช้จึงควรแน่ใจก่อนว่านั่นคือ ของจริง ไม่ใช่เว็บปลอมหรือแอพเถื่อน ที่มิจฉาชีพทำไว้หลอกโอนเงินให้ต้องนั่งน้ำตาซึม
ในอีกแง่มุม…เรื่องน้ำตาซึม ก็คงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการยุคเก่า ๆ ที่ยอดขายหน้าร้านอาจจะตกฮวบฮาบไปเรื่อย ๆ หากไม่เปลี่ยนแผนการในการขายสินค้าให้รองรับโลก Digital หรือการขายออนไลน์แล้วล่ะ ก็ท้ายสุดอาจจจะต้อง น้ำตาซึม อีกก็ได้เพราะเดี่ยวนี้ ใคร ๆ เขาก็มีรายได้จากการขายออนไลน์กันหมดแล้ว
สุดท้ายนี้ ในช่วงต้น ๆ ของบทความวันนี้ ตามข้อมูลที่ได้อ้างอิงมา หากดูแล้วก็คงเดาได้ไม่ยากว่า โลกแห่ง Digital Bankingนั้น มีแววที่จะเติบโตอีกหลายเท่ากว่าปัจจุบันแค่ไหน …ซึ่งส้มก็อยากฝากข้อคิดในแง่ของการทำธุรกิจ ไว้สักนิดนึงว่า หากคุณทำร้านขายของ ร้านอาหาร หรือบริการอะไรอยู่ การเปิดบริการ ให้สามารถ จ่ายเงินค่าบริการ ค่าอาหารผ่าน digital banking ก็นับเป็นไอเดียที่น่าสนใจ ( ยกตัวอย่าง ของจีนเขาก็มี aliplay กันแล้ว ที่ใช้ QR code จ่ายค่าข้าวกันได้ )
และ…ถ้าร้านคุณเป็นร้านแรก ๆ ล่ะจะดีแค่ไหน?
แล้วจะดีกว่าไหม…ถ้า ไปร้านอาหารต้องควักเงินหลักพัน
…ไม่ต้องนับแบ้งก์
….ไม่ต้องนับเศษตัง
…….ไม่ต้องพกเงิน…ให้กลัวโดนปล้น
มาถึงบรรทัดนี้ คิดว่าคุณคงพอได้ไอเดียอะไรที่จะต่อยอดธุรกิจ คุณแล้วล่ะ!
อย่าลืมกด like กด share เป็นกำลังใจ และติดตามบทความพร้อมข่าวสารด้านการเงิน และธุรกิจได้ตลอดที่นี่ค่ะ